ทักทาย.......

(- -")..ขอต้อนรับเข้าสู่ webblog ของ ส.สุรวุฒิ (เบลวังซุค)ครับบบบ.....

Calendar




Code Calendar by zalim-code.com

My self & family

หวาน.......

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

โครงการสอนวิชาภาษาและเทคโนโลยีฯ

รหัสวิชาGD ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู 3 (1-2-3)ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552อาจารย์ผู้สอน ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง****************************************************
คำอธิบายรายวิชา (เนื้อหา)ศึกษาและฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ท และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ ทั้งในด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน เพื่อการสื่อความหมาย โดยเน้นกระบวนการ ทักษะสัมพันธ์ทางภาษา ตลอดจนศึกษาและฝึกการตีความ การขยายความ การสรุปความ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการนำเสนองานทางวิชาการหัวข้อที่จะเรียนกัน
จุดประสงค์.........
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาและกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้วจะมีพฤติกรรมและความสามารถดังต่อไปนี้
.........1. อธิบายความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูได้
.........2. อธิบายและปฏิบัติการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต สำหรับครูได้
.........3. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสืบค้นข้อมูลทางการศึกษา
เนื้อหา
........หน่วยที่ 1
........เทคโนโลยีพื้นเพื่อการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู รายละเอียด
........หน่วยที่ 2
........คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา รายละเอียด
........หน่วยที่ 3
........อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและสืบค้น รายละเอียด
........หน่วยที่ 4
........เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูล
รายละเอียด
........หน่วยที่ 5
........ฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูล รายละเอียด

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การระบายสีชอล์ค
1. สาระสำคัญ
การระบายสีชอล์ค คือ การขูด ขีด เขียนด้วยสีชอล์ค ให้เกิดเป็นภาพตามความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของตนเอง โดยคำนึงถึงหลักการให้สีเหมือนจริง

2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนแสดงการระบายสีชอล์คได้ถูกต้อง
2.2 จุดประสงค์นำทาง
1) นักเรียนแสดงการเตรียมการระบายสีชอล์คได้อย่างถูกต้อง
2) นักเรียนปฏิบัติการระบายสีได้อย่างถูกต้อง

3. สาระการเรียนรู้
การระบายสีชอล์ค
3.1 การเตรียมการระบายสีชอล์ค
3.2 การปฏิบัติการระบายสี

4. กระบวนการเรียนรู้
อธิบายวิธีการเตรียมการระบายสีชอล์ค
1) การจัดชั้นเรียน แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 5-6 คน จำนวน 5 กลุ่ม โดยการนับเรียงตามเลขที่ประจำตัว
2) นำเสนอสื่อ โดยนำตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการระบายสีชอล์ค และผลงานการ ร่างภาพ มาให้นักเรียนดู แล้วสนทนาเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการระบายสีชอล์คและผลงานการ ร่างภาพร่วมกับนักเรียน
3) ครูกล่าวเกี่ยวกับการเตรียมการในการระบายสีชอล์ค ว่าในการระบายสีสิ่งที่จะต้องเตรียมการเป็นอย่างแรก คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการการระบายสีชอล์คควรประกอบด้วย กระดาษวาดภาพ สีชอล์ค ดินสอ ยางลบ กระดาษทิชชู ไม้บรรทัด และเทปใส และเมื่อเรามีอุปกรณ์พร้อมแล้วอย่างแรกที่เราจะต้องปฏิบัติ คือ นำกระดาษวาดภาพมาติดไว้กับโต๊ะเรียน โดยใช้เทปใสติดยึดมุมกระดาษทั้ง 4 มุม และในขั้นตอนต่อมา ให้นักเรียนตีกรอบลงในกระดาษวาดภาพ พร้อมกับกำหนดชื่อเรื่องที่ใช้ในการวาดภาพ ครูสาธิตขั้นตอนการเตรียมการในการระบายสีชอล์ค ให้นักเรียนดู แล้วมอบหมายให้นักเรียนในแต่ละคู่ปรึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนในการเตรียมการระบายสีชอล์คร่วมกัน
4) ให้นักเรียนแต่ละคู่พูดคุยปรึกษากันเกี่ยวกับขั้นตอนในการเตรียมการระบายสีชอล์ค แล้วให้นักเรียนปฏิบัติการเตรียมการระบายสีชอล์คตามใบงานที่ 1 เป็นรายบุคคล
5) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้นักเรียนแต่ละคู่ ปรึกษาเกี่ยวกับขั้นการเตรียมการระบายสีชอล์คและตรวจความเรียบร้อยผลงานของคู่ของตนเองแล้วช่วยกันคัดเลือกผลงานในคู่ของตนเองที่มีความเรียบร้อยที่สุด เตรียมนำเสนอหน้าชั้นเรียน
6) นำเสนอผลงาน ให้นักเรียนแต่ละคู่ส่งตัวแทน 1 คน พร้อมกับนำผลงานที่ปฏิบัติตามใบงานที่ 1 ที่คัดเลือกจากคู่ของตัวเองแล้ว นำมาเสนอหน้าชั้นเรียน พร้อมกับบอกอุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมการระบายสี การนำเสนอโดยใช้วิธีการจับฉลาก เพื่อเรียงลำดับการนำเสนองานในแต่ละกลุ่ม (ใช้เวลาในการนำเสนอ กลุ่มละ 3 นาที)
7) สรุปเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเตรียมการระบายสีชอล์ค และเสนอแนะผลงานของนักเรียน

อธิบายวิธีการปฏิบัติการระบายสี
1) การจัดชั้นเรียน แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 5-6 คน จำนวน 5 กลุ่ม โดยการนับเรียงตามเลขที่ประจำตัว
2) นำเสนอสื่อ โดยนำตัวอย่างผลงานการระบายสีชอล์ค มาให้นักเรียนดูแล้วให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ผลงานว่า ภาพระบายสีภาพนี้ควรตั้งชื่อเรื่องในหัวข้อใด มีองค์ประกอบของภาพสมดุลกันหรือไม่ และการให้สีมีความเป็นธรรมชาติและเหมือนจริงหรือไม่
3) ครูกล่าวทบทวนเกี่ยวกับ ขั้นตอนการวาดภาพระบายสี ว่า ขั้นตอนการวาดภาพระบายสีมีกี่ขั้นตอน และมีขั้นตอนอะไรบ้าง แล้วครูนำเข้าสู่บทเรียนอธิบายวิธีการระบายสีชอล์ค ว่าสีชอล์คเป็นสีที่มีเนื้อสีที่ละเอียด เข้มข้น และมีเฉดสีที่เหมือนกับสีตามธรรมชาติเหมาะแก่การระบายสีภาพเหมือนจริง ในการระบายสีชอล์คควรระบายสีไปในทิศทางเดียวกันทั้งภาพ เช่น ถ้าระบายสีตามแนวนอนก็ควรระบายสีตามแนวนอนกันทั้งภาพ และในการระบายสีอย่าให้เกิดช่องว่างระหว่างสีกับกระดาษ ควรระบายสีให้มีความกลมกลืนกันระหว่างสี ครูสาธิตการระบายสีชอล์คให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนปฏิบัติตาม แล้วมอบหมายให้นักเรียนในแต่ละคู่ปรึกษา และช่วยสอนการระบายสีชอล์คร่วมกัน
4) ให้นักเรียนแต่ละคู่พูดคุยปรึกษากันเกี่ยวกับวิธีการระบายสีชอล์ค แล้วให้นักเรียนปฏิบัติการระบายสีชอล์ค ลงในใบงานที่ 2 เป็นรายบุคคล
5) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้นักเรียนแต่ละคู่ ปรึกษาและวิจารณ์ผลงานการระบายสีชอล์ค ในใบงานที่ 2 ในคู่ของตัวเองแล้วช่วยกันคัดเลือกรูปภาพระบายสีที่เด่นที่สุดในคู่ของตัวเอง เตรียมนำเสนอหน้าชั้นเรียน
6) นำเสนอผลงาน ให้นักเรียนแต่ละคู่ส่งตัวแทน 1 คน พร้อมกับนำผลงานการระบายสีชอล์คในใบงานที่ 2 ที่คัดเลือกจากคู่ของตัวเองแล้ว นำมาเสนอหน้าชั้นเรียน ให้เพื่อนคู่อื่น ๆ ดูและช่วยกันวิจารณ์เสนอแนะ การนำเสนอโดยใช้วิธีการจับฉลาก เพื่อเรียงลำดับการนำเสนองานในแต่ละกลุ่ม (ใช้เวลาในการนำเสนอกลุ่มละ 3 นาที)
7) สรุปเพิ่มเติมเนื้อหาการปฏิบัติการระบายสี และเสนอแนะผลงานการระบายสีชอล์คของนักเรียน

5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
5.1 หนังสือวิชาทัศนศิลป์ ป.5
5.2 รูปภาพการระบายสีชอล์ค
5.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดภาพระบายสี เช่น สีชอล์ค กระดาษ ฯลฯ
5.4 ใบงานที่ 1 และ 2

6. การวัดผล
6.1 วัดผลการแสดงการเตรียมการระบายสีชอล์ค ด้วยการตรวจผลการปฏิบัติงานจาก ใบงานที่ 1 โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
6.2 วัดผลการปฏิบัติการระบายสีด้วยการตรวจผลการระบายสีจากใบงานที่ 2 โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง

7. การประเมินผล
7.1 ประเมินผลการแสดงการเตรียมการระบายสีชอล์ค พบว่านักเรียน………คน แสดงการเตรียมการระบายสีชอล์ค ได้อย่างถูกต้อง และมีนักเรียน……….คน แสดงการเตรียมการระบายสีชอล์ค ไม่ถูกต้อง แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือวิชาทัศนศิลป์ ป.5 เกี่ยวกับขั้นตอนการเตรียมการระบายสีชอล์คเพิ่มเติม แล้วมาแสดงการเตรียมการระบายสีชอล์คให้ครูดู ในวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2552 ที่ห้องพักครู อาคาร 1 เวลา 12.00 น.
7.2 ประเมินผลการปฏิบัติการระบายสี พบว่านักเรียน………คน ปฏิบัติการระบายสีได้อย่างถูกต้อง และมีนักเรียน……….คน ปฏิบัติการระบายสีไม่ถูกต้อง แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือ วิชาทัศนศิลป์ ป.5 เกี่ยวกับวิธีการระบายสีเพิ่มเติม แล้วมาระบายสีให้ครูดู ในวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2552 ที่ห้องพักครู อาคาร 1 เวลา 12.00 น.

ผลงานการระบายสีของนักเรียน

ผลงานการระบายสีของนักเรียน

บทความ งานศิลปะช่วยลดปัญหาโลกร้อน

ปัจจุบันปัญหาโลกร้อน กำลังเป็นประเด็นสำคัญที่หลายประเทศและหลายองค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญ เพราะผลจากความแปรปรวนทางธรรมชาติ ที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงและสร้างความเสียหายแก่มนุษย์มากขึ้น ภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก จากการเผาขยะ หรือควันพิษต่าง ๆ เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด ทำให้ชั้นโอโซนถูกทำลาย ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้การกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัย "โลกร้อน" ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน อาทิ อากาศร้อนขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หรือระดับน้ำทะเลโลกสูงขึ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังเป็นต้นเหตุของปรากฎการณ์แปลก ๆ มากมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับการหายสาบสูญของทะเลสาบ หรือดาวเทียมโคจรเร็วกว่าเดิม ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และหน่วยงานต่าง ๆ ได้เห็นความสำคัญถึงปัญหาโลกร้อน และได้ช่วยกันรณรงค์และแก้ปัญหาโลกร้อนด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสม ปลูกต้นไม้รอบที่ทำงาน และการรีไซเคิลของให้มากขึ้น และอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาโลกร้อนที่ทุกคนมองข้าม ก็คือ การทำงานศิลปะ
ศิลปะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานของมนุษย์เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์สังคมที่เต็มไปด้วยความรู้สึก อารมณ์ การจินตนาการ ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ แสง สี เสียง ซึ่งเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น ความสำคัญของศิลปะที่มีต่อสังคมช่วยให้สังคมเกิดการสร้างสรรค์ทางผลงาน และทางความคิดที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ปัญหาด้านหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็คือ ขยะที่มากมายในปัจจุบัน การที่เรานำขยะมารีไซเคิลด้วยงานศิลปะก็จะทำให้ขยะเหล่านั้นมีคุณค่ากับมาน่าใช้เหมือนเดิม และยังช่วยลดการเผาขยะซึ่งเป็นเหตุนำพาไปสู่ภาวะโลกร้อน
วิธีการนำเอาขยะมาสร้างสรรค์ผลงานมีหลายอย่างมากมาย อาจารย์สุวิทย์ บุญสวัสดิ์ ตำแหน่ง ครู คศ.3 ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา) เป็นครูสอนวิชาศิลปะที่ได้นำปัญหาโลกร้อนมาบูรณาการกับการสอนวิชาศิลปะ โดยให้นักเรียนนำขยะที่รีไซเคิลได้นำมาแต่งเติมด้วยงานศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน ทำให้ขยะที่เหลือใช้กับมามีคุณค่าน่าใช้อีกครั้ง ผลงานที่นักเรียนนำขยะมารีไซเคิลด้วยงานศิลปะมีหลากหลายประเภท เช่น นำขวดน้ำพลาสติกมาตัดแต่งเป็นรูปต่าง ๆ แล้วนำมาระบายสีให้สวยงามนำมาเป็นโคมไฟหรือแจกัน หรือนำกระถางต้นไม้พลาสติกเก่านำมาล้างให้สะอาด แล้ววาดลวดลายบนกระถางพร้อมระบายสีให้สวยงามนำมาใส่ต้นไม้ตั้งโต๊ะเพื่อลดโลกร้อนและยังนำมาเป็นที่เก็บเครื่องเขียนได้อีกด้วย และยังมีผลงานต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งผลงานต่าง ๆ ที่นักเรียนนำมารีไซเคิลด้วยงานศิลปะนอกจากจะนำมาใช้ที่โรงเรียนและกลับไปใช้เองที่บ้านแล้ว ทางอาจารย์ สุวิทย์ ยังหาแนวทางในการหารายได้พิเศษ ให้แก่นักเรียน โดยการนำเอาผลงานไปวางจำหน่ายในงานนิทรรศการต่าง ๆ และวางขายที่ตลาดหลังเลิกเรียน เงินที่จำหน่ายได้นำไปเป็นทุนของนักเรียนในการใช้จ่ายค่าอาหารกลางวัน ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปะ ทางอาจารย์ สุวิทย์ บุญสวัสดิ์ จะสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนในการเรียนทุกครั้ง โดยจะกล่าวนำถึงปัญหาโลกร้อน และจะยกตัวอย่างเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน แล้วให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และหาทางแก้ปัญหาในการลดภาวะโลกร้อน ในการจัดการเรียนการสอนแบบนี้จะช่วยปลูกฝังค่านิยมของนักเรียนให้ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนและสามารถนำกลับไปปฏิบัติ และแนะนำวิธีลดปัญหาโลกร้อนที่ชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ได้อีกด้วย
จะเห็นได้ว่างานศิลปะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยในการลดภาวะโลกร้อน และงานศิลปะยังช่วยทำให้จิตใจเยือกเย็น สุขุม ดับร้อนกับปัญหาที่เกิดขึ้นภายในประเทศอย่างมากมายหลายด้าน ปัญหาโลกร้อนเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ฉะนั้นพวกเราทุกคนก็ต้องช่วยกันแก้ไขกับปัญหาที่เกิดขึ้น และงานศิลปะก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน
ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ

โพสข้อความ


คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

จำนวนผู้เข้าชม